Comic Essay ภาค 2

[2012.05.29]

ต่อกันภาค 2 กับ Comic Essay ของญี่ปุ่น

2 เรื่องที่จะพูดถึงในเอนทรี่นี้ เป็นสิ่งที่เรา “คิดเอาเอง” ว่ามีโอกาสจะมีเป็นภาษาไทยสูง

และหนึ่งในนั้นปัจจุบันก็มีคนประกาศลิขสิทธิ์ไปเรียบร้อยอย่างที่ได้เก็งเอาไว้ เฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮ

เริ่มจากนี่เลย 百姓貴族 hyakushou kizoku ปัจจุบันสำนักพิมพ์ Siam inter comic ถือลิขสิทธิ์อยู่

ผู้เขียนทุกคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี Arakawa Hiromu ผู้เขียน Fullmetal Alchemist นั่นเอง

百姓貴族 ให้เราแปลภาษาไทยคงได้ออกมาเป็น ชาวไร่ศักดินา

2013.04.20 EDIT: ประกาศชื่อไทยอย่างเป็นทางการออกมาแล้ว “รากหญ้าบรรดาศักดิ์” ตามรูปเลยค่ะ

อาราคาว่า เซนเซ เป็นชาวไร่ที่ฮอกไกโด มีฟาร์มวัวและทำสวนมันฝรั่ง และอื่นๆ (เขาว่างั้น)

ชีวิตก่อนจะมาเป็นนักเขียนการ์ตูนเธอช่วยงานในไร่ มีเรื่องสนุกสนานที่ไม่คาดคิดให้อ่านกัน

ที่มาของชื่อเรื่องเกิดจาก สมัยเป็นนักเขียนยังไม่ดัง แต่อาหารการกินที่บ้านหรูสุดๆ ตู้เย็นช่องแข็งเต็มไปด้วยเนื้อวัว มีนมสดส่งตรงจากบ้านทุกสัปดาห์ สมัยอยู่ฮอกไกโด ไม่ว่าจะเนื้อวัว เนื้อแกะ แซลมอน ผัก มันฮอกไกโด ไม่เคยต้องซื้ออะไรกินเลย อะไรที่บ้านตัวเองไม่มีก็เอาของไปแลกกัน!! จึงได้ชื่อเรื่องนี้มา

เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า ที่มาของภาพวัว เพราะเธอชอบวัวจริงๆ แถมอยู่กับวัวตั้งแต่เด็กจนโตด้วย

ขนาดรู้อยู่แล้ว บางทีอ่านๆ  ไปจะเผลอลืมเอาง่ายๆ ว่าอาราคาว่าเซนเซ เป็นผู้หญิงนี่น่า! ยิ่งวีรกรรมสมัยก่อนจะเป็นนักเขียนการ์ตูนแต่ละอย่าง ไม่อยากจะเชื่อจริงๆ ขับรถแทร็กเตอร์ตั้งแต่เด็ก ลุยงานในไร่นา ทำคลอดวัว ฯลฯ

ไม่เชิง ปวช. เพราะเป็นโรงเรียนสามัญแต่มีวิชาการเกษตรด้วย

เรียนกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช เชือดไก่ รีดนมวัว ทำหมันหมู ไปจนถึงแปรรูปอาหาร

แถมด้วยที่มาว่าทำไมอาจารย์ถึงเลือกมาเป็นนักเขียนการ์ตูน

จริงๆ แล้วแกอยากเรียนต่อคณะสัตวแพทย์ และอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน

ตอนแรกวางแผนไว้ว่า เรียนมหาวิทยาลัยให้จบก่อน แล้วค่อยเป็นนักเขียนหลังจากนั้นก็ได้

แต่สุดท้าย (สปอยด์) ตัดสินใจไม่เรียนต่อเพราะค่าเรียนสำหรับ 6 ปีดูจะหนักหนาเกินไปสักหน่อย

เล่มสองต่อจากเล่มแรก

เนื้อเืรื่องโดยรวมจะต่อๆ กัน

มีช่วงนึงที่สมมุติว่า ถ้าหากฮอกไกโดไม่ได้เป็นของญี่ปุ่น แต่เป็นของรัสเซียล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

อ่านเล่มเดียวก็ได้เพราะจบในเล่ม (จริงๆ คือไม่มีเนื้อเรื่อง) แต่อ่านจบเล่มหนึ่ง ถ้ารู้ว่ามีต่อ มั่นใจว่าทุกคนที่ชอบเล่มแรกจะต้องอยากอ่านต่อ

ฟังดูไม่มีอะไรเลย แต่ยืนยันว่าสนุกจริงๆ ทั้งเรื่องราวและอารมณ์ขันของอาจารย์แกไม่ธรรมดาจริงๆ

คอมิคเรื่อง Silver Spoon ของอ.อาราคาว่า ฮิโรมุฉบับภาษาไทยเพิ่งออกวางแผนวันนี้
ใครอ่านแล้วติดใจมุกทั้งหลายในเรื่อง แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ค่ะ
อาจารย์แกนำประสบการณ์ตรงไปเขียนแน่ๆ สองเรื่องมีจุดเหมือนกันเพียบเลย อ่านต่อกันแล้วสนุกดี
ถ้าไม่ได้อ่านเรื่องนี้มาก่อน คงคิดว่า Silver Spoon แ่ต่งขึ้นจากจินตนาการซะส่วนใหญ่
แต่พออ่านเรื่องนี้ก่อนรู้เลยค่ะว่าเรื่องจริงล้วนๆ (ฮา)

ปล. แต่เพื่อนที่อ่านทั้งสองเรื่องเขาบอกว่า hyakushou kizoku สนุกกว่านะ : P

เรื่องสุดท้าย

ของนักวาดคนโปรดของเราเอง

น่าจะเดากันไม่ยาก

Koge-Donbo sensei นั่นเอง (ภาพเต็มบล็อกเลย)

ヨメさんは萌え漫画化 (Yomesan wa Moe Mangaka)

แปลไทยได้ว่า เจ้าสาวเป็นนักเขียนการ์ตูนโมเอ้

koge-donbo sensei แต่งงานกับสามี ซึ่งอยู่ในกองกำลังป้องกันตัวเอง (ประมาณทหาร)

เรื่องนี้เป็นประวัติว่า แกไปรู้จักกับสามีคนนี้ได้ยังไง กว่าจะแต่งงานเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เรื่องที่ฮือฮาเกี่ยวกับการแต่งงานครั้งนี้คือ อาจารย์โคเกะไม่ได้บอกสามีว่าเป็นนักเขียนการ์ตูน!! รู้จักกันตอนไปหาข้อมูลเขียน Naki Shoujo no tame no Pavane (Pavane Pour Une Fille Défunte บทเพลงแด่สาวน้อยผู้สิ้นชีวี ของสนพ. บงกชคอมิค) แต่ตอนไปหาข้อมูลเขาบอกว่าทำงานสำนักพิมพ์ พวกนิตยสาร มาหาข้อมูลเกี่ยวกับทหารญี่ปุ่นสมัยสงครามโลก (ก็ไม่ได้โกหกเนอะ…. เขียนลงนิตยสารจริงๆ)

แล้วสุดท้ายไปสารภาพเอาตอนไหนล่ะ?

(สปอยด์) อาจารย์แกสารภาพหลังอีกฝ่ายซื้อแหวนแต่งงานไปแล้วค่ะ

สุดท้ายงานแต่งงานก็ไม่ได้ยกเลิก ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะตกใจอยู่ไม่น้อย แถมหลังแต่งงานยังมีข้อเสนอให้เอาชีวิตคู่ของนักเขียนการ์ตูนกับทหารมาเขียน comic essay อีกต่างหาก (ฮา)

เนื้อเรื่องไม่มีอะไรมากมาย มีเรื่องเกี่ยวกับ 自衛隊 (กองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่น) และความโอตาคุของอาจารย์แกให้อ่าน ทุกคน(และเจ้าตัวเองด้วย) บอกว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้ควรชื่อว่า 新郎さんは自衛隊 (คุณเจ้าบ่าวเป็นกองกำลังป้องกันตัวเอง) เสียมากกว่า ซึ่งอาจารย์เขาอธิบายไว้ว่า ที่ตั้งชื่อแบบนั้นไม่ได้เพราะหน้าที่การงานของสามี เกิดคนที่ทำงานไปเห็นหนังสือมีคำว่า 自衛隊 แล้วซื้อมาอ่านจะแย่เอา ความลับแตก

เจ้าของบล็อกยังไม่ได้ซื้อเล่มนี้เลย = =’’ แต่ตามอ่านในเว็ปครบทุกตอนนะคะ (คิโนะคุนิยะ ไม่เอาเข้ามาขายต้องสั่ง)

แถมด้วยมี side story เพิ่มเติมอีกเล็กๆ น้อยๆ อยู่ใน 私華集2 โดจินส่วนตัวของอาจารย์ที่ออกขายในคอมิกเกะด้วย ใครซื้อเอามาให้เจ้าของบล็อกได้ยลสักครั้งนะคะ T^T

วันที่ 5 เดือน มิถุนายนนี้ จะเริ่มตอนใหม่ในเว็ปของ Eden – Mag Garden แล้วค่ะ

ใครสนใจอ่านได้ที่ http://www.mag-garden.co.jp/comiconline/EDEN.html# 

แต่ตอนเก่าๆ ไม่มีแล้วนะคะ ใครอยากอ่านต้องรีบ เพราะมีลงแค่ตอนละไม่นาน ยิ่งพอไปพิมพ์รวมเล่มแบบอ่านฟรีก็ลบออกหมด ^^;

ดูจากลิขสิทธิ์เรื่องอื่นๆ ของอาจารย์โคเกะก็เข้าไทยมาไม่น้อย

เลยเก็งว่านี่น่าจะเป็นอีกเรื่องที่มีโอกาสเ้ข้ามาพิมพ์ขาย

ขอให้มีสำนักพิมพ์สนใจพิมพ์เถ้อออออออออออออออออออออออออออออ

ไปๆ มาๆ เหมือนรีวิวหนังสือที่ยังไม่ออก =v=’

ใครอ่านแล้วสนใจเรื่องไหน อย่าลืมไปคอยเชียร์สำนักพิมพ์ไทยให้เอาเข้ามาพิมพ์นะคะ

Comic Essay อะไรเอ่ย ไม่ใช่คอมิค แต่ก็ไม่ใช่ตัวหนังสือล้วนๆ

[2012.05.23]
พักหลังมานี้ชอบอ่าน comic essay มาก
เพราะทั้งภาพและคำศัพท์อ่านง่ายสบายตา แถมมาจากเรื่องจริง อ่านแล้วรู้สึกเข้าถึง
ของไทยตอนนี้ก็เริ่มมีให้เห็น เช่น ชีวิต 175 ซม. ที่เขียนลงภาพให้ดูกันในเอนทรี่ก่อนๆ
ไหนๆ เราเองก็ชอบอ่าน แถมแอบเห็นประกาศลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์เริ่มมีคนซื้อมาพิมพ์กันแล้วด้วย
เลยอยากเอามาแนะนำให้ได้อ่านกัน
คนอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก สนใจเรื่องไหน ขอร่วมเชียร์ให้มีคนซื้อลิขสิทธิ์มาแปลไทยนะคะ
สำหรับคนเรียนภาษาญี่ปุ่น บางเรื่องแนะนำให้อ่าน เพราะอ่านง่าย แถมได้เรียนไปในตัวด้วย
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Comic Essay กันก่อน

Comic essay คือหนังสือการ์ตูนที่

  1. มีภาพประกอบ แต่ไม่ได้เน้นความสวยงามของภาพเหมือนมังกะ เน้นให้สบายตา อ่านง่าย
  2. อาจมีตัวหนังสืออธิบายเยอะ หรือเป็นภาพสลับกับบทความก็ได้
  3. เป็นเรื่องจริง เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน

ที่ญี่ปุ่นมีหนังสือแนวนี้อยู่แล้ว และมีแปลเป็นภาษาไทยตั้งแต่เมื่อก่อน

เรื่องที่เคยเห็นในไทย – ชีวิต 150 ซม. ของสนพ. Nation แต่เมื่อนานมาแล้ว

เรื่องที่ (น่าจะ)จุดประกายให้หนังสือแนวนี้ฮิตมากกว่าที่ผ่านมาในญี่ปุ่น และทำให้เราติดใจ comic essay คือเรื่องนี้ค่ะ

日本人の知らない日本語 (Nihonjin no Shiranai Nihongo)

ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นไม่รู้”

เรื่องนี้โด่งดังขึ้น Best Seller ของญี่ปุ่น จนมีการนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์เลยทีเดียว

เป็นการ์ตูน สลับกับบทความให้ความรู้ ภาพน่ารัก คำศัพท์อ่านง่าย เหมาะเป็นเล่มแรกๆ เอาไว้ฝึกอ่านจริงๆ สมัยอ่านภาษาญี่ปุ่นยังไม่ค่อยแข็งแรง แต่อ่านสบาย ไม่ยากจนเกินไป

คนเขียนเรื่องนี้เป็นอาจารย์โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น
เนื้อเรื่องจะเป็นภาษาญี่ปุ่นที่นักเรียนต่างชาติใช้ผิด
และภาษาญี่ปุ่นที่คนต่างชาติเรียนตามหลักภาษา แต่ญี่ปุ่นเองกลับใช้ในความหมายผิดกันเป็นปกติไปซะแล้ว
และภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นเองก็ไม่รู้ตามชื่อเรื่อง เช่นชื่อเรียกเฉพาะสิ่งของ ลักษณะนามของบางอย่าง และที่มาที่ไปของคำศัพท์ คันจิ ต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องคล้ายๆ กันที่นักเรียนหลายๆ ชาติได้พูดคุยกัน หรือความเข้าใจผิดและความหลงใหลในสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่นของนักเรียน เช่นชอบนินจา และมาญี่ปุ่นเพราะคิดว่ามีนินจาอยู่ หรือชอบดูละครย้อนยุคแล้วใช้ภาษาเหมือนซามุไรคุยกัน เป็นต้น

การจะเป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นในญี่ปุ่นได้ จะต้องสอบข้อสอบที่ได้ชื่อว่าผ่านยากมาก ไม่ใช่พูดภาษาญี่ปุ่นได้หรือแค่เป็นคนญี่ปุ่นจะสามารถสอนได้ทุกคน ทำให้ผู้เขียนเป็นคนมีความรู้รอบตัวเยอะมาก ประกอบกับนักเรียนต่างชาติเองก็มีความคิด “ต่าง” จากคนญี่ปุ่น ทำให้มองเห็นจุดเล็กๆ น้อยๆ ที่คนญี่ปุ่นเองมักมองข้ามไป

เรื่องนี้อ่านไปหัวเราะไป แถมได้ความรู้อีก คนญี่ปุ่นอ่านก็ดี คนต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอ่านก็ดี แต่ถ้าคนไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยอ่าน อาจจะไม่สนุกในพาร์ทเกี่ยวกับภาษา แต่ยังสามารถสนุกกับแนวคิดแปลกๆ ของคนแต่ละชาติ แต่ละคนที่แตกต่างกันออกไปได้อยู่

 

ปัจจุบันเรื่องนี้ออกมา 3 เล่ม เล่ม 1 สนุกที่สุด เพราะมีเรื่องทั่วๆ ไปเยอะ พอเล่ม 2 และ 3 จะเจาะลึกลงไปที่ตัวภาษามากขึ้นเรื่อยๆ อ่านเล่ม 3 สำหรับเราสนุกดีนะ เพราะมีที่มาที่ไปของสิ่งที่เคยเรียนเคยท่องจำให้อ่าน แต่ไม่ค่อยมีเรื่องทั่วๆ ไปแล้ว

ดูจากเล่ม 3 แล้ว ดูท่าว่าอีกไม่นานสักเท่าไหร่จะมีเล่ม 4 ออกมาให้อ่านกันด้วย

ตัวอย่างในเล่ม (แปลไทยโดยเราเอง) ชอบบทนี้มาก

นักเรียนเขียนคำตอบผิดทุกคน จนอาจารย์เริ่มไม่แน่ใจว่าตัวเองจำผิดหรือเปล่า

^^; ที่ชอบไม่ใช่อะไร แต่ทั้งตัวเองและเพื่อนๆ ที่เรียน ก็ผิดคำนี้บ่อยมากกกกกกก เหมือนนักเรียนในเรื่องเป๊ะเลย (555555)
อ่านแล้วชอบเพราะรู้ว่า ไม่ใช่แค่คนไทยใน มันผิดกันทั้งโลกต่างหาก!! (ฮา)

เรื่องต่อไปที่จะพูดถึง ยังเป็นของนักเรียนและนักวาดคนเดิม

日本人なら知っておきたい日本文学 (Nihonjin nara Shitte okitai NihonBungaku)

แปลไทยได้ว่า วรรณคดีญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นควรจะรู้เอาไว้

การ์ตูนแนะนำเกี่ยวกับวรรณคดี ตัวละครในวรรณคดี และผู้แต่งวรรณคดีคนสำคัญๆ ของญี่ปุ่นเป็นการ์ตูนให้อ่าน ภาพน่ารัก มีเนื้อเรื่องย่อเป็นการ์ตูนให้ด้วย น่ารักมากๆ เสียใจที่ออกมาหลังเรียนวิชาประวัติวรรณคดีจบแล้ว เพราะน่าจะทำให้ช่วยจำง่ายขึ้นตอนเรียน T^T’

เรื่องนี้ level up กว่าข้างบน อ่านยากกว่าพอสมควร มีชื่อคนสมัยก่อนโผล่มาเพียบ

แต่ตัวคนในประวัติศาสตร์คนสำคัญๆ ชอบโผล่มาในการ์ตูน เช่น ฟุจิวาระ โนะ มิจินากะ หรืออาเบะ โนะ เซเม อ่านเรื่องนี้ได้รู้ประวัติจริงๆ ของคนเหล่านั้น อ่านการ์ตูนหรือนิยายอิงประวัติศาสตร์แล้วสนุกขึ้นไปอีกขั้น ลองหาอ่านกันดูได้ค่ะ

อีกเรื่องที่ขึ้น best seller แต่ไม่ใช่ในคิโนะคุนิยะอย่างเล่มแรก เป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งในงาน Comic Market

中国嫁日記 (Chuugoku Yome Nikki) A CHINESE WIFE AND AN OTAKU HUSBAND

บันทึกประจำวันภรรยาชาวจีน  A CHINESE WIFE AND AN OTAKU HUSBAND

ตามไตเติลภาษาอังกฤษเลยค่ะ เรื่องของภรรยาสาวชาวจีน กับสามีโอตาคุนักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น

เรื่องมาจาก ตาลุงโอตาคุนักเขียนการ์ตูน แต่งงานกับสาวจีนสุดสวย อายุต่างกันเป็นรอบ แล้วเอาเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับภรรยาตัวเองมาเขียนเป็นการ์ตูนสี่ช่องลงในบล็อก ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง จนปัจจุบันรวมเล่ม 2 เล่มแล้ว และมีวี่แววว่าต้องมีเล่มต่ออย่างแน่นอน!

เรื่องนี้… สนุกแบบโอตาคุดีค่ะ lol

ไม่ได้ให้ความรู้อะไรเล้ยยยยยย แต่สนุก คือทั้งสามีภรรยาไม่ธรรมดาทั้งคู่ เพื่อนคนจีน คนเกาหลีของคุณภรรยาก็มีคนแปละๆ เยอะ (ฮา)

เรื่องนี้เราไม่ได้อ่านเป็นเล่ม แต่อ่านในบล็อกของคนเขียน อ่านได้เรื่อยๆ ตามชื่อเรื่อง คือเป็นไดอารี่ บันทึกเรื่องสนุกๆ ในชีวิตประจำวันของตาลุงคนเขียนกับคุณภรรยาสาวแค่นั้นแหละ

ใครสนใจติดตามอ่านในเว็ปได้ที่ http://blog.livedoor.jp/keumaya-china/
หรือใครซื้อเป็นเล่มอ่าน มีขายที่ Kinokuniya สาขาอิเซตัน (Central World)
ซื้อแล้วอย่าลืมเอามาให้เราอ่านด้วยคน

จบไปแล้ว 3 เรื่อง

เรื่องที่เหลือขอแปะโป้งไว้มาต่อภาค 2 ค่ะ

เรื่องที่เหลือเป็นเรื่องที่ส่วนตัวคิดว่า มีโอกาสพิมพ์ในไทยสูง หวังว่าจะมีแปลในเร็ววัน

ใครมีเรื่องอะไรมาแนะนำแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ ทั้งของไทย ญี่ปุ่น ฝรั่ง จีน(วาน วาน) จะไปตามหาอ่านอีกค่ะ อ่านแล้วติดใจแนวนี้ไปแล้ว